ผู้เรียนสาขานิเทศน์ศิลป์จะต้องสื่อสารด้วยภาพได้ดี คือวาดแล้วคนอื่นดูรู้เรื่อง ดูเข้าใจ เน้นไปที่วาดภาพสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อสื่อความได้ ทักษะที่ควรเตรียมไว้คือ
วาดภาพกราฟฟิก
หรือก็คือภาพตัดทอนรายละเอียดเป็นพื้นฐานของการออกแบบการฟฟิกหลายอย่างเช่น ภาพสัญลักษณ์(Symbol) , โลโก้(Logo)


วาดตัวการ์ตูน
ในการสื่อสารด้วยภาพที่มีเรื่องราว จำเป็นต้องมีการเล่าเรื่อง และการมีตัวละครเข้ามาดำเนินเรื่องอาจจะทำให้รับสารได้ง่ายขึ้น, รวดเร็วขึ้น, ละเอียดลึกซ้ึงยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นเสน่ห์ดึงดูดทำให้งานน่าสนใจ ดังนั้น ผู้ออกแบบควรเป็นคนช่างสังเกตรายละเอียดในตัวบุคคล บุคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอ พฤติกรรมและการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางไว้บ้าง ไม่มากก็น้อยให้เพียงพอต่อการนำข้อมูลมาออกแบบตัวละครเพื่อใช้เล่าเรื่อง
ในการวาดตัวการ์ตูนปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ควรจะต้องมีความเข้าใจความชอบของคนส่วนใหญ่ถึงรูปแบบที่มีความนิยมเฉพาะกลุ่มและสามารถเขียนตัวการ์ตูนได้หลากหลายสไตล์ ถึงแม้จะมีแนวทางที่ผู้ออกแบบชอบและทำได้ดีเป็นพิเศษเพียงทางเดียวก็ตาม





วาดภาพประกอบ
ในการเล่าเรื่องราวเมื่อสามารถเขียนตัวการ์ตูนออกแบบกราฟฟิกได้แล้วและนำสิ่งต่างๆมารวมกัน จัดวางในหน้าเดียวกันแล้วจะต้องสวยงามน่าสนใจ อันนี้ต้องใช้ทักษะการจัดวางภาพให้สวยงามจากวิชาองค์ประกอบศิลป์ด้วย


ออกแบบตัวอักษร
นักออกแบบที่ดีควรจะสื่อสารด้วยภาพได้เป็นหลักไม่เว้นแม้แต่ในข้อความซึ่งใช้คำพูดสื่อความหมายก็ยังต้องมีการตกแต่งรูปแบบตัวอักษรให้สวยงามเพื่อสื่อความรู้สึกให้ได้มากยิ่งกว่าคำพูด
ศาสตร์ของการออกแบบตัวอักษรเรียก Typography มีรายละเอียดซับซ้อนลึกซ้ึงมาก จึงจะขอสรุปสั้นๆแบบบ้านๆเพื่อให้เอาไปใช้ได้โดยง่ายเป็น 3 รูปแบบ
-
Serif
ที่มารูปภาพ : 78.media.tumblr.com Serif เป็นรูปแบบตัวอักษรแบบมีติ่ง ใช้กับงานที่เป็นทางการและใช้กับตัวหนังสือเยอะๆที่ต้องการให้อ่านง่าย
-
Sans-Serif
ที่มารูปภาพ: www.techiestate.com ตัวอักษรแบบไม่มีติ่ง ใช้กับงานพาดหัวสั้นๆให้ดูน่าสนใจ ดูทันสมัย(แบบ Modern) เรียบง่าย
-
Script

เป็นตัวเขียนให้ความรู้สึกพิเศษ เป็นเอกลักษณ์ ยังใช้กับงานที่ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ผ่อนคลายได้ดีอีกด้วย
ออกแบบโลโก้
เป็นการผสมผสานกันระหว่างภาพสัญลักษณ์กับรูปแบบตัวอักษรเพื่อใช้เป็นตัวแทนขององค์กร เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
จัดวางหน้ากระดาษ
คนทำงานกราฟฟิกควรจะมีทักษะพื้นฐานในการนำเสนองานง่ายๆโดยจัดวางตัวอักษร หัวข้อ ย่อหน้า, จัดช่องว่างหรือช่องไฟให้ง่ายต่อการอ่าน ทำความเข้าใจและน่าสนใจ.
